กรมอุตุฯ เตือน พายุฤดูร้อน ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ให้เตรียมรับมือกับพายุฤดูร้อนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 7-13 เมษายน พ.ศ. 2568
กรมอุตุฯ เตือน พายุฤดูร้อน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ให้เตรียมรับมือกับพายุฤดูร้อนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 7-13 เมษายน พ.ศ. 2568 โดยลักษณะอากาศจะแปรปรวน มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ สาเหตุของพายุฤดูร้อนครั้งนี้ เกิดจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นและมวลอากาศร้อน ส่งผลให้เกิดพายุฤดูร้อนขึ้น

กรมอุตุฯ เตือน ไทยตอนบนระวังพายุฤดูร้อน ลมแรง 7-13 เม.ย.
ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงควรติดตามข่าวสารจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
- ในช่วงวันที่ 7 – 8 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด
- ในช่วงวันที่ 9 – 11 เม.ย. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
- ในช่วงวันที่ 12 – 13 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

กรมอุตุฯ เตือน ไทยตอนบนระวังพายุฤดูร้อน ลมแรง 7-13 เม.ย.
สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 7 – 8 เม.ย. ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9 – 13 เม.ย. ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 – 2 เมตร อ่าวไทยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ข้อควรระวัง
- ในช่วงวันที่ 7 – 8 และ 12 – 13 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง หรืออยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนเกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
ขอขอบคุณ : กรมอุตุนิยมวิทยา